ฐานข้อมูลสมุนไพรกัญชง มหาวิทยาลัยแม่โจ้
Hemp Maejo University : Hemp
 ค้นหา | หน้าแรก   
 
 
» หน้าแรก
» ความเป็นมา
» สมุนไพรกัญชง
» ข่าว/บทความสมุนไพรกัญชง
» เฮมพ์กับโครงการหลวง
» งานวิจัยสมุนไพรกัญชง
» เว็บสมุนไพรกัญชงที่เกี่ยวข้อง
» vdo สมุนไพรกัญชง
» facebook คณะผลิตกรรมการเกษตร
» สำหรับผู้ดูแลระบบ
 
 

                               :: รายละเอียดสมุนไพร ::
กลับสู่เมนูค้นหา 
ชื่อสมุนไพร
กัญชง
ชื่อท้องถิ่น หมั้งหรือม่าง
ชื่อสามัญ Hemp
ชื่อวิทยาศาสตร์ Cannabis sativa L. subsp. Sativa
ชื่อวงศ์ Cannabaceae
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ ต้นกัญชง เป็นพืชตระกูลเดียวกับกัญชา แต่ไม่จัดว่าเป็นยาเสพติด การปลูกต้นกัญชงจะใช้เมล็ด มีแหล่งกำเนิดในเอเชียกลางและแพร่กระจายไปสู่เอเชียตะวันออก อินเดีย และในทวีปยุโรป เป็นพืชไม้ล้มลุก อายุสั้น ซึ่งอายุของต้นกัญชงหนึ่งต้นอายุเพียงหนึ่งปี ลักษณะของลำต้น ราก ใบ ดอก และผลของกัญชง มีดังนี้ ลำต้นของกัญชง ลักษณะตั้งตรงมีสีเขียวความสูงประมาณไม่เกิน 6 เมตรลำต้นอุ้มน้ำได้ดี รากของกัญชง เป็นระบบรากแก้วมีรากแขนงเป็นจำนวนมาก ใบของกัญชง เป็นใบเดี่ยวเป็นลักษณะเหมือนรูปฝ่ามือใบเป็นแฉกมีประมาณไม่เกิน 9 แฉกต่อหนึ่งใบขอบใบเหมือนใบเลื่อย ปลายใบเรียวแหลมก้านใบยาวประมาณ 7 เซนติเมตร ดอกกัญชง จะออกดอกตามซอกใบและปลายยอดออกดอกเป็นช่อมีสีขาวขนาดเล็ก เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 4 มิลลิเมตร ผลกัญชง มีลักษณะเป็นรูปไข่กลมรีผิวเรียบมันมีลายสีน้ำตาล ผลเป็นเมล็ดแห้งสีเทาภายในเมล็ด มีสารอาหารจำพวกแป้งและไขมันจำนวนมาก
ส่วนที่ใช้เป็นยา ใบกัญชง / เมล็ดของกัญชง
สารสำคัญ เมล็ดของกัญชง มีโปรตีนสูงมีคุณค่าทางโภชนาการมากกว่าโปรตีนถั่วเหลืองจึงสามารถนํามาใช้ทําผลิตภัณฑ์ทดแทนถั่วเหลืองได้อาทิน้ําเต้าหู้, เนย, ชีส, น้ํามันสลัด,โปรตีนเกษตร เป็นต้น รวมทั้งยังนํามาทําแป้งได้อีกด้วย รวมทั้งน้ํามันในเมล็ดกัญชงยังให้กรดไขมัน Omega-3 ซึ่งเป็นกรดไขมันที่มีอยู่ในน้ำมันจากปลา ซึ่งพบว่าการบริโภค Omega-3 ช่วยลดอัตราการเกิดมะเร็ง และสารเตตราไฮโดรแคนนาบินอล หรือ THC
สรรพคุณทางยา ใบกัญชง สามารถนำมาทำเป็นยาบำรุงโลหิตช่วยทำให้ผ่อนคลายแก้ปัญหานอนไม่หลับรักษาอาการวิงเวียนศีรษะแก้ปวดหัว รักษาไมเกรน แก้กระหาย รักษาโรคท้องร่วงรักษาโรคบิด แก้ปวด ช่วยบรรเทาอาการเจ็บ ช่วยคลายกล้ามเนื้อ รักษาโรคเกาต์ / เมล็ดของกัญชง ใช้เป็นยาสลายนิ่ว สกัดเอาน้ำมันมาช่วยบำรุงผิวแห้ง รักษาโรคผิวแห้ง รักษาโรคสะเก็ดเงิน สาร ‘CBD’ มาเพื่อใช้รักษาผู้ป่วยในหลายๆโรค เช่นโรคลมชัก หรือโรคทางด้านประสาทต่างๆ
พันธุ์ที่ปลูก กัญชงพันธุ์ปางอุ้ง แม่สาใหม่ ห้วยหอย แม่ตะละ สองแคว ปางแก และปางตอง
การขยายพันธุ์ โดยการเพาะเมล็ด (หน่วยงานรัฐปลูกกัญชงแล้วใน 6 จังหวัด 15 อำเภอ คือ จ.เชียงใหม่ 4 อำเภอ ได้แก่ อ.แม่วาง แม่ริม สะเมิงและแม่แจ่ม, จ.เชียงราย 3 อำเภอ ได้แก่ อ.เทิง เวียงป่าเป้า และแม่สาย, จ.น่าน 3 อำเภอได้แก่อ.นาหมื่น สันติสุข และสองแคว,จ.ตาก เฉพาะที่อ.พบพระ, จ. เพชรบูรณ์ 3 อำเภอ ได้แก่ อ.หล่มเก่า เขาค้อ และเมือง และจ.แม่ฮ่องสอน ในพื้นที่ อ.เมือง) (สำหรับสายพันธุ์ที่นำมาปลูกได้ต้องมีนั้นจะต้องมีสารออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทหรือสารทีเอชซี (THC) ไม่เกิน 1% หากตรวจพบว่าแปลงใดมีต้นกัญชงที่สารดังกล่าวเกินจะถือว่ามีความผิด สามารถปลูกได้แต่ในพื้นที่ๆกำหนด มีผลตั้งแต่ปี 2560 เป็นต้นไป)
ฤดูปลูก ต้นกัญชงให้เมล็ดภายในสาม-สี่เดือนปลูกได้ปีละ3ครั้ง ปริมาณเมล็ด1ตันต่อไร่ (ที่มา : รศ.อาคม กาญจนประโชติ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เชียงใหม่ )
การปลูก สำหรับกัญชงมีที่พบในประเทศไทย ปัจจุบันมี 2 รูปแบบ คือ ชาวบ้านปลูกเองโดยใช้เมล็ดพันธุ์ดั้งเดิมของตัวเอง พื้นที่ปลูกส่วนใหญ่ที่สำรวจพบจะอยู่ในหมู่บ้านของชาวไทยภูเขาเผ่าม้งเป็นหลัก โดยเฉพาะในเขต อ.พบพระ จ.ตาก ซึ่งปลูกเพื่อทอผ้าใช้ในชีวิตประจำวัน และการปลูกในพื้นที่โครงการส่งเสริมการปลูกเฮมพ์ในพื้นที่นำร่องภายใต้ระบบควบคุมใน 5 จังหวัด ประกอบด้วย เชียงใหม่ เชียงราย ตาก น่าน และเพชรบูรณ์
อายุเก็บเกี่ยว กัญชงที่ปลูกในเดือนมิถุนายน ซึ่งเป็นช่วงที่มีแสงแดดจัดและช่วงแสงยาว มีปริมาณ THC สูงกว่า ที่ปลูกในเดือนกันยายนซึ่งมีช่วงแสงสั้นกว่า (ที่มา : http://dmsc2.dmsc.moph.go.th/webroot/drug/km/illicit_test/cannabis.pdf , หน้า 30)
ฤดูเก็บเกี่ยว จากการวิจัยพบว่ากัญชงที่ปลูกช่วงเดือนกันยายน มีระยะเวลาการออกดอกสั้น ประมาณ 60-70 วัน น่าจะมีประโยชน์ ถ้าต้องการปลกกูัญชงเพื่อเก็บเมล็ด (ที่มา : http://dmsc2.dmsc.moph.go.th/webroot/drug/km/illicit_test/cannabis.pdf , หน้า 31)
ผลผลิต ในด้านอุตสาหกรรมสิ่งทอ มีมากมาย เนื่องจากเส้นใยของ กัญชง มีคุณภาพสูงสามารถนํามาใช้เป็น วัตถุดิบในการผลิตได้หลายชนิด อาทิการทำเสื้อผ้า, เยื่อกระดาษ, เชือกต่าง ๆ เป็นต้น นอกจากนี้ยังพบว่า คุณสมบัติเส้นใยของกัญชง มีความแข็งแรงกว่าฝ้าย 2 เท่า โดยพบว่าการปลูกกัญชง 10 ไร่จะให้ผลผลิตเส้น ใยเท่ากับการปลูกฝ้าย 20-30 ไร่
แหล่งอ้างอิง http://dmsc2.dmsc.moph.go.th/webroot/drug/km/illicit_test/cannabis.pdf
  http://mcpswis.mcp.ac.th/html_edu/mcp/temp_informed/27333.pdf
  http://memorytime.co/category/สมุนไพร/
  https://www.samunpri.com/news/อย-ยังไม่อนุญาตปลูก-กัญชา-ให้แค่-กัญชง/
  https://www.catdumb.com/differences-of-hemp-and-marijuana-420/
  https://www.posttoday.com/politic/report/537223
  https://www.posttoday.com/social/general/530159
  http://www.thaitribune.org/contents/detail/307?content_id=24893&rand=1482964973
 
 
  
:: ภาพแสดง ลำต้น ใบ ดอก ผล สมุนไพร กัญชง ::


ลำต้นกัญชง (http://www.hrdi.or.th/hrdi-admin/public/images/articles/2017-05-29/FILE-20170529-1120URS51415NXZY.JPG)

ใบกัญชง (http://dmsc2.dmsc.moph.go.th/webroot/drug/km/illicit_test/cannabis.pdf , หน้า 2)

ดอกกัญชง (https://medthai.com/กัญชง/)

ผลกัญชง (https://medthai.com/กัญชง/)


กลับสู่เมนูค้นหา 
       
คณะผลิตกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ 63 หมู่ 4 ต.หนองหาร
อ.สันทราย จ.เชียงใหม่ 50290 โทรศัพท์ (053) 873348 โทรสาร (053) 498157